พอพูดถึง “สตาร์บัคส์” – ร้านกาแฟเจ้าดังที่มีแฟรนไชนส์ไปทั่วโลกนั้น ทุกคนก็จะนึกถึงกาแฟรสชาติดี มีคุณภาพและความเอาใจใส่ของพนักงานที่กลายมาเป็นจุดขายและเอกลักษณ์ของสตาร์บัคส์ สตาร์บัคส์มองตัวเองว่าเป็น Resource positive company นั่นก็คือบริษัทมีเป้าหมายที่จะ take less and give more รวมไปถึงการจัดหาเมล็ดกาแฟด้วย สตาร์บัคส์ซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรกว่า 400,000 รายใน 30 ประเทศทั่วโลก ดังนั้นการจัดหาแบบยั่งยืนนั้น (Sustainable sourcing) จะทำให้เกิดผลกระทบด้านดีเป็นอย่างมากกับทั้งลูกค้า เกษตรกรและตัวบริษัทเองด้วย
ร้านกาแฟเจ้าดังนี้ได้ทำการวิเคราะห์แล้วว่าใน value chain ของธุรกิจตนเองนั้น กระบวนการทำงานที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนเยอะที่สุดมาจากการเพาะเมล็ดกาแฟ รองลงมาคือการขนส่ง ตามมาด้วยการคั่วกาแฟและการทำบรรจุภัณฑ์ ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์นี้จึงเป็นที่มาของการตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสตาร์บัคส์ ว่าจะมุ่งเน้นถึงการจัดหาเมล็ดกาแฟแบบยั่งยืน (sustainable coffee sourcing) โดยที่สตาร์บัคส์ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะทำให้เมล็ดกาแฟเป็น carbon neutral หรือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน (การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์) ให้สำเร็จภายในปี 2573
การจัดหาเมล็ดกาแฟแบบยั่งยืน (sustainable coffee sourcing) ของสตาร์บัคส์
เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าสตาร์บัคส์เป็นผู้นำทางด้านการจัดหาเมล็ดกาแฟแบบยั่งยืน เพราะสตาร์บัคส์ปฏิบัติตามหลักการของ C.A.F.E. Practices (Coffee and Farmer Equity) ซึ่งเป็นหลักการจัดหาเมล็ดกาแฟอย่างยั่งยืนและอย่างมีคุณธรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมกาแฟ หลักการนี้เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งหลักการนี้เป็นโปรแกรมที่ช่วยโปรโมทความโปร่งใสในการจัดหาเมล็ดกาแฟและยังช่วยปกป้องสิทธิความเป็นอยู่ของเกษตรกรและครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดี ถูกสุขลักษณะ หลักการนี้ช่วยสตาร์บัคส์ในการจัดหาเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพและช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้นในระยะยาว
สตาร์บัคส์ทำอย่างไรในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน?
คุณ Michelle Burns – Senior Vice President of Global Coffee, Tea, and Cocoa กล่าวในข่าวประชาสัมพันธ์ของบริษัทว่า “ในการลดก๊าซคาร์บอนและประหยัดการใช้ทรัพยากรน้ำนั้น เราสามารถช่วยเกษตรกรผู้ปลูกเมล็ดกาแฟให้มีประสิทธิผลมากขึ้น ในขณะเดียวกันเราก็สามารถทำให้โลกเราน่าอยู่มากขึ้นและสามารถนำเมล็ดกาแฟคุณภาพที่ปลูกแบบยั่งยืนส่งตรงถึงมือลูกค้าพวกเรา”
เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน
สตาร์บัคส์มีเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอยู่มากกว่า 400,000 รายใน 30 ประเทศ การขับเคลื่อนธุรกิจแบบยั่งยืนส่งผลกระทบกับเครือข่ายของสตาร์บัคส์ทั้งหมด เพราะฉะนั้นบริษัทจึงมีแผนการที่จะประสานงานและถ่ายทอดความรู้ ข้อมูลให้กับเครือข่ายของตนเองทั่วโลกเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในเรื่อง Climate change และความท้าทายต่างๆที่จะเจอได้ในการเพาะเมล็ดกาแฟให้มีคุณภาพ ในขณะเดียวกันต้องช่วยกันลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนด้วย
-
สตาร์บัคส์ให้อุปกรณ์ทางการเกษตร
ในศูนย์ Starbucks Farmer Support Centers ได้มีแอพพลิเคชั่นมือถือที่ช่วยเกษตรในการตรวจสอบดินเพื่อที่จะดูว่าดินมีแร่ธาตุเพียงพอกับการเพาะปลูกกาแฟให้มีคุณภาพหรือไม่ ตอนนี้ทางสตาร์บัคส์ได้เก็บข้อมูลตัวอย่างดินไปแล้วกว่า 11,500 ตัวอย่าง ทำให้เกษตรมีความเข้าใจมากขึ้นในเรื่องคุณภาพของดินและดูว่าควรจะปรับหรือลดปุ๋ยอย่างไร ผลลัพธ์ที่ได้คือการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมากขึ้น
-
สตาร์บัคส์เมล็ดพันธุ์กาแฟพิเศษที่มีคุณสมบัติในการทนต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ
จากการที่สตาร์บัคส์ได้ให้ความรู้เรื่องการเพราะปลูกกาแฟให้ได้คุณภาพดี การให้เมล็ดพันธ์กาแฟพิเศษนี้ทำให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกกาแฟได้มากยิ่งขึ้นในขณะที่ใช้ดินเท่าเดิม ผลลัพธ์ที่ได้คือการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน
-
สตาร์บัคส์ช่วยป้องกันและฟื้นฟูดินที่ใช้ในการเพาะปลูกกาแฟในพื้นที่เสี่ยง
การตัดไม้ทำลายป่าเป็นความเสี่ยงที่อุตสาหกรรมกาแฟกำลังเผชิญอยู่ สตาร์บัคส์จึงร่วมมือกับ Conservation International ในโปรแกรมการการป้องกันและฟื้นฟูดินที่ใช้ในการเพาะปลูกกาแฟเริ่มต้นที่แรกในประเทศโคลัมเบียและเปรู โปรแกรมนี้นอกจากจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนแล้ว ยังช่วยทำให้ระบบนิเวศน์ดีขึ้นอีกด้วย
สรุป
จะเห็นได้ว่าการมีหลักการในการจัดหาแบบยั่งยืนที่เป็นสากลจะทำให้บริษัทสามารถขับเคลื่อนธุรกิจแบบยั่งยืนได้ง่ายและมีแบบแผนมากยิ่งขึ้น อย่างกรณีของสตาร์บัคส์เองที่มองเห็นประโยชน์ของการจัดหาแบบยั่งยืนที่จะช่วยให้เกษตรกรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความเป็นอยู่ที่ขึ้น ลูกค้าได้รับเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพ และผลลัพธ์สุดท้ายที่ได้คือการลดลงของการปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศของโลก
“ซัพพลายเชน กูรู..รอบรู้เรื่องการบริหารจัดซื้อและซัพพลายเชน”
https://stories.starbucks.com/stories/2021/starbucks-announces-coffee-specific-environmental-goals/
https://stories.starbucks.com/stories/2021/gesi-report-2020-coffee/