เนื่องในวันสตรีสากล ทางซัพพลายเชน กูรู ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้บริหารหญิงไฟแรงที่ประสบความสำเร็จในงานซัพพลายเชน ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อจัดจ้างและโลจิสติกส์ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้หญิงทุกคน ไม่ว่าใครก็สามารถประสบความสำเร็จได้ค่ะ
ทางสถาบันได้รับเกียรติจาก คุณปอ นภัสร์วรรณ์ ชินรุ่งโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามชอร์ไซด์ เซอร์วิส จำกัด มาแบ่งปันเรื่องราวความสำเร็จในฐานะผู้บริหารหญิงเบอร์ 1 ในสายงานโลจิสติกส์
คุณปอ นภัสร์วรรณ์ ชินรุ่งโรจน์ – กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามชอร์ไซด์ เซอร์วิส จำกัด
วันนี้ทางทีมงานได้สัมภาษณ์คุณนภัสร์วรรณ์ หรือ คุณปอ ผ่านทาง Microsoft Teams คุณปอมีหน้าตาที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ทีมงานก็รู้ทันทีว่าการสัมภาษณ์ครั้งนี้จะเป็นประโยชน์และแรงบัลดาลใจให้กับผู้หญิงอีกหลายคนแน่นอน คุณปอเป็นศิษย์เก่าของทางสถาบันซัพพลายเชน กูรู รุ่นแรกๆที่เปิดหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพทางด้านซัพพลายเชน ทางสถาบันกับคุณปอรู้จักกันมานานกว่า 15 ปีตั้งแต่ที่สมัยคุณปอไปทำงานที่เดนมาร์ก และกลับมาทำงานที่ประเทศไทย คุณปอทำงานสายโลจิสติกส์มากว่า 20 ปี ใน 3 ประเทศ ตั้งแต่ประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศเดนมาร์ก เรามาทำความรู้จักกับคุณปอกันดีกว่าค่ะ
คุณปอ นภัสร์วรรณ์ ชินรุ่งโรจน์ – ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามชอร์ไซด์ เซอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ A.P. Moller – Maersk บริษัทขนส่งยักษ์ใหญ่สัญชาติเดนมาร์ก บริษัท สยามชอร์ไซด์ เซอร์วิส จำกัด ให้บริการ Inland Container Depot ในสถานีบรรจุและพักสินค้าที่ลาดกระบัง ในฐานะกรรมการผู้จัดการ คุณปอดูแลพนักงานกว่า 400 คน จัดการให้การดำเนินงานของทุกโรงพักสินค้า ทุกคอนเทนเนอร์ให้มีประสิทธิภาพที่สุด บริหารงานโลจิสติกส์ที่มีทั้งนำเข้า-ส่งออกเพื่อช่วยให้ลูกค้าได้รับของตรงต่อเวลาและมีคุณภาพ
ทำไมถึงชอบงานโลจิสติกส์
คุณปอได้กล่าวกับทีมงานว่า “พี่ปอเชื่อว่า ทุกๆสายงานมีความน่าสนใจ มีเสน่ห์และความเซ็กซี่ในตัวของงานนั้นๆ แต่ที่พี่ปอ Passion กับงานซัพพลายเชน โดยเฉพาะโลจิสติกส์ เพราะเป็นงานที่ทำแล้ว เรารู้สึก enjoy และ รู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของลูกค้า เนื่องจากซัพพลายเชน คือ ห่วงโซ่ คือ ข้อต่อของกิจกรรมที่ทำให้ธุรกิจโลกนั้นขับเคลื่อนและสร้างรายได้ให้กับทุกๆประเทศและบุคลากรในประเทศนั้นๆ ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร คุณก็จะต้องอยู่ในห่วงโซ่ซัพพลายเชน ยกตัวอย่าง การเคลื่อนไหวของวัตถุดิบจากต้นน้ำ สู่การผลิตและการเคลื่อนที่ของสินค้าไปยังปลายน้ำ ทั้งส่วนของ Business to Business (B2B) และ Business to Consumer (B2C) ดังนั้นจะเห็นว่างานซัพพลายเชนเป็นพื้นที่ที่กว้างมากในการเรียนรู้” คุณปอยังเสริมอีกว่า ทุกวันนี้คุณปอก็ยังคงมี Passion ในการเรียนรู้ลูกค้า ศึกษาว่าธุรกิจของลูกค้าทำอะไร เพื่อที่จะช่วยสนับสนุนและแก้ไขปัญหา Pain point ให้ลูกค้า สิ่งนี้แหละที่เรียกว่า ความสุข นั้นคือการที่เราได้ช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาของลูกค้า
การรับมือกับความท้าทายในงาน
อย่างที่ทราบกันดีว่า งานในสายโลจิสติกส์จะเจอกับการแก้ไขปัญหาหน้างานค่อนข้างเยอะ ต้องบริหารจัดการพนักงานหน้างานประจวบกับธุรกิจที่มีการ Disrupt อยู่ตลอดเวลา อย่างแรกที่คุณปอตอบกับทีมงานเลยก็คือ “ปัญหา = โอกาส” เหรียญมี 2 ด้านเสมอเหมือนกับปัญหาเช่นกัน มันขึ้นอยู่กับว่าคุณจะมองมันอย่างไร จากนั้นคุณปอได้บอกเคล็ดลับ 3 ข้อที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาในการทำงานมาตลอด 20 ปี
1. มุมมองและทัศนคติกับปัญหาที่เข้ามา (Attitude with Growth Mindset)
คุณปอมองเสมอว่า ปัญหาวันนี้คือโอกาสที่ทำให้เราเติบโตขึ้น คุณปอจะสนุกไปกับการค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เพราะปัญหาคือโอกาสที่ทำให้เราได้เติบโต
2. การตัดสินใจ (Decision Making)
การทำธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะทุกวันต้องมีหนึ่งเรื่องที่ทุกคนต้องตัดสินใจ สิ่งที่คุณปอฝึกบ่อยๆเวลาเจอปัญหาคือ ไตร่ตรองโจทย์ให้ถี่ถ้วน และกล้าตัดสินใจในเวลาที่เหมาะสม หากสะสมปัญหาไปเรื่อยๆ สุดท้ายมันจะพอกพูนขึ้นและกลับมาหาเรา คุณปอยังเสริมอีกว่า หากเมื่อไหร่ที่เรารู้ตัวว่า เราตัดสินใจผิด สิ่งแรกที่รีบทำเลยคือต้องรีบปรับแล้วเปลี่ยนทิศทาง ต้องหาวิธีแก้ไขปัญหาแล้วเดินหน้าต่อ เราจะไม่วิ่งหนีปัญหา
การทำธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะทุกวันต้องมีหนึ่งเรื่องที่ทุกคนต้องตัดสินใจ สิ่งที่คุณปอฝึกบ่อยๆเวลาเจอปัญหาคือ ไตร่ตรองโจทย์ให้ถี่ถ้วน และกล้าตัดสินใจในเวลาที่เหมาะสม หากสะสมปัญหาไปเรื่อยๆ สุดท้ายมันจะพอกพูนขึ้นและกลับมาหาเรา คุณปอยังเสริมอีกว่า หากเมื่อไหร่ที่เรารู้ตัวว่า เราตัดสินใจผิด สิ่งแรกที่รีบทำเลยคือต้องรีบปรับแล้วเปลี่ยนทิศทาง ต้องหาวิธีแก้ไขปัญหาแล้วเดินหน้าต่อ เราจะไม่วิ่งหนีปัญหา
3. การแก้ไขปัญหา (Problem Management)
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องมีความเข้าใจและรู้ว่าปัญหาคืออะไร เกิดจากอะไร เมื่อเราเข้าใจโจทย์แล้วเราจะสามารถหาวิธีแก้ไขปัญหาได้ คุณปอมองว่า ปัญหาใหญ่จะประกอบไปด้วยปัญหาเล็กๆที่เป็นเหตุและผลกัน (Cause and effect) เลยต้องคิดแบบแก้ปัญหาเล็กไปใหญ่ หรือเอาปัญหาสำคัญเร่งด่วนเข้ามาเเก้ก่อน ถ้าเรามองแต่ปัญหาใหญ่ๆเราก็จะท้อ จากนั้นก็จัดลำดับความสำคัญของปัญหา ปัญหาไหนแก้แล้วได้ผลเยอะที่สุด ก็ให้เริ่มต้นที่จุดนั้น ค่อยถอดปัญหาที่ดูเหมือนยากมากๆไปทีละสเต็ปด้วยความสำเร็จในจุดเล็กๆก่อน หากวันนี้แก้ไขปัญหาจนสุดหนทางแล้วแต่ยังแก้ไม่ได้ก็ให้พักก่อน พรุ่งนี้ก็เริ่มต้นกันใหม่
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องมีความเข้าใจและรู้ว่าปัญหาคืออะไร เกิดจากอะไร เมื่อเราเข้าใจโจทย์แล้วเราจะสามารถหาวิธีแก้ไขปัญหาได้ คุณปอมองว่า ปัญหาใหญ่จะประกอบไปด้วยปัญหาเล็กๆที่เป็นเหตุและผลกัน (Cause and effect) เลยต้องคิดแบบแก้ปัญหาเล็กไปใหญ่ หรือเอาปัญหาสำคัญเร่งด่วนเข้ามาเเก้ก่อน ถ้าเรามองแต่ปัญหาใหญ่ๆเราก็จะท้อ จากนั้นก็จัดลำดับความสำคัญของปัญหา ปัญหาไหนแก้แล้วได้ผลเยอะที่สุด ก็ให้เริ่มต้นที่จุดนั้น ค่อยถอดปัญหาที่ดูเหมือนยากมากๆไปทีละสเต็ปด้วยความสำเร็จในจุดเล็กๆก่อน หากวันนี้แก้ไขปัญหาจนสุดหนทางแล้วแต่ยังแก้ไม่ได้ก็ให้พักก่อน พรุ่งนี้ก็เริ่มต้นกันใหม่
Key Success Factor (KSF) ที่ทำให้ประสบความสำเร็จเป็นผู้บริหารหญิงในสายโลจิสติกส์
ในการเป็นผู้บริหารระดับสูง แน่นอนว่าเป็นตำแหน่งที่ทุกคนจับตามองและเป็นผู้ที่จะให้ทิศทางของธุรกิจ คุณปอได้อธิบายถึง 6 กฎเหล็กที่คุณปอใช้เป็นประจำ
1. เข้าใจธุรกิจและลูกค้า (Business and Customer):
ความเข้าใจธุรกิจว่าในแต่ละธุรกิจมีการทำงานอย่างไร ต้องการอะไร ปัจจัยที่เป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจในส่วนของทั้งรายได้และรายจ่าย และที่สำคัญคือ ลูกค้า ว่าลูกค้ามองเราอย่างไร โดยใช้โมเดลที่เรียนจากซัพพลายเชน กูรู นั่นคือ Supplier Perception Model ซึ่งเป็นโมเดลที่ดูว่าลูกค้ามองเราสำคัญขนาดไหน มองเราเป็นพาร์ทเนอร์หรือเปล่า
2. ทีมงานหรือบุคลากร (People):
คุณปอจะให้ความสำคัญกับทัศนคติ (Attitude) อย่างมาก ทีมงานของคุณปอจะต้องมี right capacity and right capability นอกเหนือไปกว่านั้น คนที่มี high learning agility and adaptable ที่มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ เช่น ในช่วงของโควิดนี่จะเห็นได้ชัดเจนมากว่า ทีมที่มีอยู่เป็น High performance team หรือไม่
คุณปอจะให้ความสำคัญกับทัศนคติ (Attitude) อย่างมาก ทีมงานของคุณปอจะต้องมี right capacity and right capability นอกเหนือไปกว่านั้น คนที่มี high learning agility and adaptable ที่มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ เช่น ในช่วงของโควิดนี่จะเห็นได้ชัดเจนมากว่า ทีมที่มีอยู่เป็น High performance team หรือไม่
3. องค์กร (Organization):
คุณปอเชื่อว่า องค์กรที่มีรากฐานที่แข็งแรงจะทำให้ธุรกิจเติบโตได้ในระยะยาว องค์กรที่มีรากฐานแข็งแรงจะประกอบไปด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่ดีที่สามารถให้พนักงานเติบโตได้ และการให้การฝึกอบรมพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยังยืน มันจะต้องเป็นเหมือนการวิ่งมาราทอน ไม่ใช่แค่การวิ่งแบบ Sprint ในฐานะผู้บริหาร คุณปอมีการทำ coaching ทุกวันกับทีมงาน
คุณปอเชื่อว่า องค์กรที่มีรากฐานที่แข็งแรงจะทำให้ธุรกิจเติบโตได้ในระยะยาว องค์กรที่มีรากฐานแข็งแรงจะประกอบไปด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่ดีที่สามารถให้พนักงานเติบโตได้ และการให้การฝึกอบรมพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยังยืน มันจะต้องเป็นเหมือนการวิ่งมาราทอน ไม่ใช่แค่การวิ่งแบบ Sprint ในฐานะผู้บริหาร คุณปอมีการทำ coaching ทุกวันกับทีมงาน
4. วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture):
นอกเหนือจากกลยุทธ์องค์กรแล้วยังมีอีกปัจจัยสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนกลยุทธ์นั้นให้สำเร็จนั้นคือ วัฒนธรรมองค์กรที่ดี ซึ่งประกอบไปด้วย ค่านิยมและเป้าหมายที่ชัดเจน (clear direction), ผู้นำที่มีประสิทธิภาพ (effective leader), การทำงานร่วมกัน (Collaboration), การพัฒนา (People development), การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Communication), การปรับตัวเข้ากับสถาณการต่างๆ (Learning Agility) และความปลอดภัย (Safety) ในฐานะที่เป็นผู้บริหาร คุณปอเชื่อว่า คุณปอเองต้องเป็น Role Model ให้กับบริษัทโดยการทำให้ดู (Lead by example) เพราะนั้นคือการบ่งบอกที่ดีที่สุดคือการกระทำ
นอกเหนือจากกลยุทธ์องค์กรแล้วยังมีอีกปัจจัยสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนกลยุทธ์นั้นให้สำเร็จนั้นคือ วัฒนธรรมองค์กรที่ดี ซึ่งประกอบไปด้วย ค่านิยมและเป้าหมายที่ชัดเจน (clear direction), ผู้นำที่มีประสิทธิภาพ (effective leader), การทำงานร่วมกัน (Collaboration), การพัฒนา (People development), การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Communication), การปรับตัวเข้ากับสถาณการต่างๆ (Learning Agility) และความปลอดภัย (Safety) ในฐานะที่เป็นผู้บริหาร คุณปอเชื่อว่า คุณปอเองต้องเป็น Role Model ให้กับบริษัทโดยการทำให้ดู (Lead by example) เพราะนั้นคือการบ่งบอกที่ดีที่สุดคือการกระทำ
5. กระบวนการทำงาน (Process & Productivity):
กระบวนการในการปฏิบัติงานเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นหลักสำคัญในการกำหนดคุณภาพของบริการเราที่มีให้กับลูกค้า กระบวนการที่ดีควรมีมาตรวัดและ Dashboard เพื่อปรับปรุงต่อไป การมีกระบวนการทำงานที่มาตรฐานจะช่วยให้การบริการของธุรกิจโลจิสติกส์มีความน่าเชื่อถือ (Reliability) คุณภาพ (Quality) ในการส่งมอบ ซึ่งจะเป็นหัวใจในการลดต้นทุนของโลจิสติกส์อีกด้วย
กระบวนการในการปฏิบัติงานเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นหลักสำคัญในการกำหนดคุณภาพของบริการเราที่มีให้กับลูกค้า กระบวนการที่ดีควรมีมาตรวัดและ Dashboard เพื่อปรับปรุงต่อไป การมีกระบวนการทำงานที่มาตรฐานจะช่วยให้การบริการของธุรกิจโลจิสติกส์มีความน่าเชื่อถือ (Reliability) คุณภาพ (Quality) ในการส่งมอบ ซึ่งจะเป็นหัวใจในการลดต้นทุนของโลจิสติกส์อีกด้วย
6. ระบบในการทำงาน (System):
ระบบการทำงานเป็นเหมือนกระดูกสันหลังขององค์กรเพราะการเชื่อมต่อของข้อมูลและการใช้ข้อมูลต่างๆในองค์กร มีความสำคัญและมีประโยชน์โดยตรงทั้งในส่วนของเวลาที่พนักงานเราใช้ในการ manual input และ ออกมาเป็น insight สำหรับผู้บริหารในการใช้ตัดสินใจต่อไป ดังนั้น คุณปอให้ความสำคัญในการคัดเลือกระบบในการใช้ในองค์กร โดยเฉพาะในยุคของ Digitalisation นวัตกรรมใหม่ๆก็จะออกมาตลอด คุณปอจะมองหาระบบใหม่ๆเพื่อปรับใช้ในองค์กร
ระบบการทำงานเป็นเหมือนกระดูกสันหลังขององค์กรเพราะการเชื่อมต่อของข้อมูลและการใช้ข้อมูลต่างๆในองค์กร มีความสำคัญและมีประโยชน์โดยตรงทั้งในส่วนของเวลาที่พนักงานเราใช้ในการ manual input และ ออกมาเป็น insight สำหรับผู้บริหารในการใช้ตัดสินใจต่อไป ดังนั้น คุณปอให้ความสำคัญในการคัดเลือกระบบในการใช้ในองค์กร โดยเฉพาะในยุคของ Digitalisation นวัตกรรมใหม่ๆก็จะออกมาตลอด คุณปอจะมองหาระบบใหม่ๆเพื่อปรับใช้ในองค์กร
นอกจากนี้ เคล็ดลับสุดท้ายที่คุณปอแชร์คือ วิธีการเรียนรู้ เกิดจากการตั้งคำถามว่าอะไรคืออะไรและการตั้งใจฟัง ยิ่งเราไม่รู้ยิ่งต้องถามเมื่อถามแล้วต้องตกผลึกว่าเราได้อะไรจากเรื่องนี้ซึ่งจะนำไปสู่บทสรุปในส่วนของการต่อยอดการทำงานในส่วนต่างๆต่อไป
คติที่ใช้ในการทำงาน
“Luck is When Preparation Meet Opportunity”.
จริงๆคุณปอมีหลาย Quote แต่วันนี้จะมาแชร์กับทางทีมงานคือ Luck is When Preparation Meet Opportunity นั้นคือ โชค จะเกิดขึ้นเมื่อการเตรียมพร้อมพบกับโอกาส การเตรียมพร้อมคือการที่เราทำงานในทุกๆวันให้ดีเหนือความคาดหมาย ส่วนโอกาสล่ะมาจากไหน ที่เเน่ๆคงไม่ได้ลอยเข้ามาง่ายๆ เเต่อยู่ที่ว่า คุณมองเห็นว่ามันคือโอกาสหรือเปล่า หลายครั้งที่โอกาสเดินเข้ามาหาเรา เเต่เรากลับมองไม่เห็นมัน เห็นมันเป็นปัญหา อุปสรรค โชคชะตาที่เลวร้าย ทั้งๆที่โอกาสที่เดินเข้ามาหาเรานั้น มันอาจจะเปลี่ยนแปลงชีวิตเราได้ เเต่เรากลับมองไม่เห็นมัน ถ้าเราคิดอีกเเบบหนึ่ง ยากสิดี เจอปัญหาสิดี ถ้าเอาชนะมันไปได้ ทำให้เรามีเรื่องง่ายขึ้นมาอีกหนึ่งเรื่อง มีโอกาสเติบโตต่อได้อีก โอกาสมันมาจากการมอง ยิ่งถ้ามีปัญหาจะยิ่งเห็นชัดมากขึ้น ดังนั้นถ้าเรามีการฝึกฝนที่ดีและประกอบกับการมองโอกาสให้ออก สิ่งใดๆที่เราต้องการก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม ทำโอกาสที่เราได้รับให้ออกมาดีที่สุด
ในฐานะผู้บริหารหญิง อยากฝากอะไรถึงผู้หญิงที่ทำงานในสายงานนี้
คุณปออยากฝากถึงผู้หญิงทุกคนว่า “ขีดจำกัดเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพศค่ะ แต่เป็นจิตใจและ Level of Determination ของเรามากกว่าที่ไปกำหนดเองว่าเราทำสิ่งนั้นได้หรือสิ่งนี้ไม่ได้ สิ่งที่พี่ปอทำเสมอคือจะพุ่งเข้าใส่โอกาสต่างๆ รวมถึงปัญหาและแก้ไขให้สำเร็จ พี่จะไม่รอหรือคิดว่าเราเป็นผู้หญิงอาจทำไม่ได้ และโดยเฉพาะเวลาที่มีโอกาสได้นำเสนองานหรือบริษัทต้องการคนมารับผิดชอบในงานต่างๆ พี่จะยกมือขึ้นก่อนตลอดเวลาเพราะเรากล้าทำสิ่งที่ถูกต้อง พุ่งเข้าใส่ปัญหา พุ่งเข้าใส่โอกาส ซึ่งอันนี้พี่ว่ามันเป็นส่วนที่ดี ไม่ต้องอายหรอกค่ะและทำเลย ถ้าเราทำผิดพลาด เราก็ได้เรียนรู้ เราไม่เสียหายอะไรเลย”
หลังจากที่ทางทีมงานได้คุยคุณปอแล้ว เรารู้สึกได้ถึงพลังงานด้านบวก ได้แนวทางและมุมมองในการทำงานต่างๆที่คุณปอได้ให้คำแนะนำที่มีประโยชน์มากๆ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้จริง ทางทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้จะเป็นแรงบัลดาลใจให้กับผู้หญิงทุกท่าน ไม่ว่าคุณจะทำงานในสายงานใดก็ตาม คุณก็สามารถประสบความสำเร็จได้