7 ข้อปฏิบัติในการทำ supplier engagement อย่างยั่งยืน

Supply Chain Guru Logo 1
group-people-working-out-business-plan-office-min

เป็นที่รู้กันว่าการทำความยั่งยืนในซัพพลายเชนต้องใช้ความร่วมมือกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในซัพพลายเชน ไม่ใช่แค่บริษัทใดบริษัทหนึ่งทำแล้วจะประสบความสำเร็จ เพราะฉะนั้นการทำ supplier engagement เป็นอีกเรื่องที่บริษัทควรให้ความสำคัญในการทำความยั่งยืนและเติบโตไปด้วยกัน วันนี้ซัพพลายเชน กูรู มี 7 ข้อปฏิบัติในการทำ supplier engagement อย่างยั่งยืน

  1. การมีฉันทามติเรื่องความยั่งยืนร่วมกันในบริษัท

    การมีฉันทามติรวมกันภายในบริษัทระหว่างคณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร หน่วยงานความยั่งยืนและแผนกจัดซื้อจัดจ้างในเรื่องของความยั่งยืนจะสร้างรากฐานที่ดีในการทำ supplier engagement program เพื่อให้ทั้งบริษัทเห็นภาพของการทำความยั่งยืนเป็นภาพเดียวกันก่อน เมื่อมีความเข้าใจตรงกันแล้ว การพูดคุยและสานสัมพันธ์กับองค์กรภายนอกจะทำได้สะดวกมากขึ้น

  2. ควรมีหลักการในการคัดเลือกซัพพลายเออร์ที่ดี

    แผนกจัดซื้อจัดจ้างควรออกแบบเฟรมเวิร์คที่ใช้ในการคัดเลือกซัพพลายเออร์ให้รอบคอบ นั่นหมายถึง นอกจากจะต้องมีการประเมินศักยภาพของซัพพลายเออร์แล้ว เฟรมเวิร์คควรจะต้องสอดแทรกคำถามด้านความยั่งยืนเข้าไปด้วย เช่น เป้าหมายในการลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์ เป้าหมายด้านการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนด้วย หากซัพพลายเออร์รายใดสามารถตอบคำถามได้ครบถ้วน ทางแผนกจัดซื้อจัดจ้างจะสามารถคัดเลือกซัพพลายเออร์ที่เห็นจุดหมายร่วมกันได้ง่ายขึ้น

  3. มีการพูดคุยกันอย่างจริงใจและได้รับประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย

    การเปิดอกพูดคุยกันอย่างจริงใจและเปิดเผยในเรื่องของความยั่งยืนเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะการการทำความยั่งยืนในซัพพลายเชนอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากหลายฝ่าย รวมไปถึงซัพพลายเออร์เองด้วย บริษัทไม่สามารถบรรลุเป้าหมายด้านควายั่งยืนได้เพียงผู้เดียว จากการมีจุดยืนด้านความยั่งยืนนี้ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายได้รับผลประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการยอมรับในตลาด มีจุดการทำการตลาดที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้เพื่อนมนุษย์ให้มีความเป็นอยู่ที่ดี รักษาทรัพยากรธรรมชาติและทำให้โลกน่าอยู่มากขึ้น

    jigsaw business

  4. พัฒนาความสัมพันธ์แบบระยะยาวและการทำ co-creation

    การสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับซัพพลายเออร์เป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยในการเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน ทั้งนี้ทั้งนั้น บริษัทและซัพพลายเออร์จะต้องแชร์คุณค่าและความเชื่อไปในทิศทางเดียวกันเพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาความสัมพันธ์ระยะยาว

  5. วิธีการโน้มน้าวให้ซัพพลายเออร์ทำความยั่งยืน

    บริษัทมีวิธีโน้มน้าวให้ซัพพลายเออร์ทำความยั่งยืนไปกับบริษัทมีทั้งหมด 3 วิธี
    ให้ความสนับสนุน: ช่วยซัพพลายเออร์ในการโปรโมตความยั่งยืนที่ซัพพลายเออร์ทำอยู่ โดยผ่านการสื่อสาร การทำการตลาดต่างๆ
    กระตุ้น: กระตุ้นซัพพลายเออร์ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานโดยการบรรจุลงไปในการประเมินซัพพลายเออร์ การกระตุ้นนี้ซัพพลายเออร์จะไม่ได้รู้สึกว่าถูกบังคับมากเกินไป แต่รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่จะต้องทำเพราะอยู่ในมิติหนึ่งในการประเมิน
    บังคับ: วิธีการนี้คือการบรรจุใน code of conduct ในสัญญาการว่างจ้างเลยว่า ซัพพลายเออร์ทุกรายจะต้องทำตามที่บริษัทร้องขอไว้ในสัญญา วิธีนี้เหมาะกับบริษัทขนาดใหญ่ที่อำนาจในการเลือกซัพพลายเออร์ได้สูง

  6. ใช้กรอบของภาคอุตสาหกรรมในการทำ Supplier engagement

    การใช้กรอบของภาคอุตสาหกรรมมาช่วยทำ supplier engagement มีข้อดีทั้งต่อตัวซัพพลายเออร์เองและต่อบริษัทของคุณเองด้วยเพราะซัพพลายเออร์ของคุณเองจะต้องแข่งขันกับบริษัทในภาคอุตสาหรกรรมเดียวกัน จะทำให้เกิดมาตรฐานและส่งผลประโยชน์ให้กับตัวซัพพลายเออร์และบริษัทคู่ค้า เช่น บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ร่วม 10 บริษัทที่เข้าร่วม CDP Supply Chain Program (CDP เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรเพื่อช่วยบริษัท ประเทศ ภูมิภาคต่างๆจัดการผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม โดย CDP Supply Chain Program ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยบริษัทในการระบุและจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและช่วยให้บริษัทได้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนในซัพพลายเชน) โดยมีการบังคับใช้ KPI สำหรับการอนุรักษ์การใช้น้ำ บริษัทที่เข้าร่วมโครงการนี้จะต้องมีการรายงานผลไปยังโปรแกรมและแสดงผลต่อสาธารณะ

  7. มีการตรวจสอบแบบมีเป้าหมาย

    ตรวจสอบการจัดการตั้งแต่ต้นน้ำ เช่น เรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นเรื่องสำคัญในการทำ Supplier Engagement Program ในขณะที่หลายๆบริษัทได้พยายามหาวิธีตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพมากมาย จากการที่เราได้เรียนรู้จากอดีตจนถึงปัจจุบันนั่นคือ การตรวจสอบควรออกแบบโดยการใช้เป้าหมาย (target) เป็นจุดเริ่มต้น
    – ระบุนโยบายและเป้าหมายที่ชัดเจนในการตรวจสอบ
    – ทำความเข้าใจว่า ปัจจัยอะไรที่จะทำให้บริษัทบรรลุเป้าหมายเหล่านั้น ซึ่งปัจจุยตัวนั้นแหละที่คุณจะนำมาใช้ในการตรวจสอบ
    – ทำการตกลงกับซัพพลายเออร์ถึงการตรวจสอบที่ตั้งไว้

แชร์บทความนี้

Facebook
LinkedIn

ให้เราเป็นผู้ดูแลคุณ

ด้วยประสบการณ์ด้านการจัดซื้อและการจัดการซัพพลายเชนมากว่า 30 ปี