TCO ย่อมาจาก Total Cost of Ownership (ต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ) เป็นศัพท์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการซัพพลายเชน โดยเฉพาะในส่วนของการจัดซื้อจัดจ้าง มาดูกันดีกว่าว่า TCO คืออะไร? ใช้ทำอะไร? ส่วนประกอบของ TCO มีอะไรบ้าง? พร้อมทั้งยกตัวอย่างการใช้ TCO
TCO (Total Cost of Ownership ต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ) คืออะไร?
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องตลอดอายุการใช้งานของอุปกรณ์หรือเครื่องจักร
TCO ใช้ทำอะไร?
TCO เป็นโมเดลที่ใช้ในการประเมินความคุ้มค่าในการซื้ออุปกรณ์หรือเครื่องจักร เพราะ TCO จะครอบคลุมต้นทุนการซื้อตั้งแต่ต้นทุนในการซื้อและต้นทุนในการใช้สินค้าชิ้นนั้นไปจนหมดอายุการใช้งาน
องค์ประกอบของ TCO
TCO ประกอบไปด้วย
-
Purchase Cost:
ต้นทุนในการซื้อ คือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการซื้ออุปกรณ์หรือเครื่องจักรทั้งหมด เช่น ราคาขาย ต้นทุนการซื้อนี้จะรวมไปถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆเพื่อที่จะได้มาซึ่งสินค้าด้วย เช่น ภาษีนำเข้า ค่าติดตั้ง ค่าขนส่ง
-
Post Purchase Cost:
ต้นทุนค่าใช้จ่ายหลังจากที่ได้สินค้ามาแล้ว ค่าใชจ่ายตรงนี้จะครอบคลุมไปจนกระทั่งสินค้าหมดอายุการใช้งาน เช่น ค่า Operation ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าซ่อมบำรุง รวมถึงค่ากำจัดซากเมื่ออุปรณ์นั้นหมดอายุ
ยกตัวอย่างการใช้ TCO ในการเลือกซื้อเครื่องพิมพ์
สมมติบริษัทกำลังตัดสินใจซื้อเครื่องพิมพ์ใหม่ คุณดูเปรียบเทียบกันระหว่าง 2 แบรนด์ที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน ตาม TCO โมเดลแล้ว คุณควรพิจารณา
- Purchase Cost: คุณควรพิจารณาราคาเครื่องพิมพ์ ราคาค่าติดตั้ง
- Post Purchase Cost: แน่นอนว่าเมื่อซื้อเครื่องพิมพ์มาแล้ว ต้องดูถึงค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ด้วย เช่น ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนดรัม ค่าใช้จ่ายค่าหมึกพิมพ์ ค่าบริการหลังการขายต่างๆ
เมื่อคุณได้ต้นทุนในการซื้อทั้งหมดแล้ว คุณก็จะสามารถนำค่าใช้จ่ายเหล่านี้มาเปรียบเทียบกันว่าเลือกแบรนด์ไหนคุ้มค่ากับคุณมากที่สุด นอกจากนี้ คุณอาจจะพิจารณาปัจจัยอื่นเพื่อใช้ในการตัดสินใจควบคู่ไปด้วย เช่น คุณภาพการพิมพ์งาน ความคมชัดของการพิมพ์ ความเร็วในการพิมพ์งาน เป็นต้น คุณสามารถดูคลิปที่ผมอธิบายเรื่อง TCO อย่างละเอียดได้ใน YouTube ของซัพพลายเชน กูรู อีกด้วย คลิกที่นี่
จะเห็นได้ว่า TCO สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ไม่เฉพาะกับงาน แต่คุณสามารถใช้ในการเลือกซื้อสินค้าในชีวิตประจำวันของตัวเองได้อีกด้วย เช่น การซื้อรถยนต์ หากคุณกำลังมองหาหลักสูตรที่ช่วยให้คุณพัฒนากลยุทธการจัดหา หลักการประเมินซัพพลายเออร์ คุณสามารถลงเรียนคอร์สประกาศนียบัตรวิชาชีพการจัดการซัพพลายเชน ระดับสากล ด้าน Sourcing กับเราได้เลย (หลักสูตรรับรองโดย International Trade Centre (ITC) WTO United Nations)