Bullwhip Effect ปรากฏการณ์แส้ม้าฉบับเข้าใจง่าย

Supply Chain Guru Logo 1

Bullwhip Effect หรือในภาษาไทยเรียกว่า ”ปรากฏการณ์แส้ม้า” คือความผันผวนของความต้องการ (Demand) ในซัพพลายเชน ตั้งแต่ซัพพลายเออร์ ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ลูกค้า ส่งผลให้มีปัญหาสินค้าขาดแคลนหรือล้นตลาด สาเหตุของปัญหานี้คือการที่ข้อมูลความต้องการของลูกค้าปลายทางมีความผันผวนจึงทำให้ผู้ผลติและซัพพลายเออร์ไม่สามารถรู้ถึงความต้องการที่แท้จริงได้

ผมขอเล่าให้เห็นภาพกันชัดๆแบบนี้ครับ

ในซัพพลายเชนจะมีผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ได้แก่ ซัพพลายเออร์ ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ลูกค้า

นึกภาพว่า เราเป็นซัพพลายเออร์ เราติดต่อซื้อขายผู้ผลิต จากนั้นผู้ผลิตนำไปส่งต่อให้ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าส่งจึงส่งต่อให้ผู้ค้าปลีก และจบที่ลูกค้ามาซื้อสินค้าที่ผู้ค้าปลีก

ประเด็นคือในอดีต ผู้ค้าปลีกต้องมีสินค้ามารอในร้าน ลูกค้าเข้ามาซื้อ สมมติเดือนที่ผ่านมาสินค้า A ขายได้ดีอยู่ที่ 10 ชิ้น ในฐานะผู้ค้าปลีก เวลาลูกค้ามาก็อยากให้ได้สินค้ากลับไปเลย ผู้ค้าปลีกจึงบอกจำนวนผู้ค้าส่งไป 15 ชิ้น (เผื่อไว้) ผู้ค้าส่งก็คิดแบบเดียวกัน จึงบอกผู้ผลิตไปที่ 20 ชิ้น (เผื่อไว้) จากนั้นผู้ผลิตบอกต่อไปยังซัพพลายเออร์ 25 ชิ้น (เผื่อไว้) ในขณะที่ความต้องการจริงๆอาจจะเป็น 10 ชิ้น แต่ทุกคนในซัพพลายเชนก็จะบอกเผื่อไว้ ทำให้ที่สุดแล้วสินค้าเหลือ สุดท้ายต้องนำมาขายลดราคา นี่คือที่มาของ Bullwhip Effect

bullwhip effect itc-min

Bullwhip Effect ในปัจจุบัน

ปัจจุบันนี้ ด้วยการใช้เทคโนโลยีในการปรับปรุงพัฒนาการไหลของข้อมูล (Information flow) มีความโปร่งใสมากขึ้น เลยทำให้ Bullwhip effect ค่อยๆลดลง แต่อย่างไรก็ตามในบางอุตสาหกรรมที่ Demand ยังมีความแกว่ง ความผันผวนอยู่ เช่น ในอุตสาหกรรม FMCG หรือ Fast-Moving Consuming Goods จำพวกสินค้าอุปโภค บริโภคต่างๆ ถึงแม้ว่าจะมีระบบสารสนเทศมาช่วยในการพัฒนาการไหลของข้อมูลแล้ว แต่อุตสาหรกรรมนี้ยังคงต้องมีหน่วยงาน Demand Management เพื่อเป็นตัวกลางในการคุยกับลูกค้าเพื่อให้ได้ข้อมูล Demand มากที่สุด

ในปัจจุบันนี้ผมขอเรียกว่าเป็น uncertainty และ demand fluctuation แทน Bullwhip Effect แล้วกัน..

วิธีการแก้ไขปัญหา Bullwhip Effect ในปัจจุบัน

จากที่ได้อธิบายมาในข้อที่แล้วว่า Bullwhip effect จะค่อยๆลดลงไป ในปัจจุบันผมขอเรียกว่าเป็น uncertainty และ demand fluctuation แทน เพราะปัจจุบันมีระบบและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้ทั้งซัพพลายเชนได้ทราบถึงความต้องการของลูกค้า หากแต่มันก็จะยังมีความผันผวน ความไม่แน่นอนในความต้องการที่บริษัทจะต้องเข้ามาจัดการ ผมขอแนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยการทำ CPFR หรือCollaborative Planning, Forecasting, Replenishment นั่นคือการทำแผนการสร้างความร่วมมือ (Collaborative Planning) การพยากรณ์ (Forecasting) เพื่อเติมเต็มสินค้า (Replenishment)  กันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในซัพพลายเชนเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนมีสินค้าและวัตถุดิบในปริมาณที่เหมาะสม ที่สำคัญคือลูกค้าจะได้รับสินค้าตามจำนวนและเวลาที่เขาต้องการ

นอกจากนี้ เนื่องจากโลกธุรกิจมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผมอยากให้ทุกคนมี Agile mindset – แนวคิดเพื่อให้องค์กรกระฉับกระเฉงว่องไวและยืดหยุ่นเพื่อรับมือการปรับเปลี่ยนและความไม่แน่นอนของลูกค้าที่มีอยู่ตลอดเวลา ผมเคยเขียนบทความเรื่องวิธีการสร้าง Agile mindset ครับ หากท่านใดต้องการศึกษาเรื่องอไจล์ในซัพพลายเชนก็สามารถเข้าไปหาความรู้เพิ่มเติมได้ในสัมมนาออนไลน์ครั้งที่ 1 – Agile Practices in Supply Chain ที่ผมเคยอธิบายไว้อย่างละเอียดครับ

แชร์บทความนี้

Facebook
LinkedIn

ให้เราเป็นผู้ดูแลคุณ

ด้วยประสบการณ์ด้านการจัดซื้อและการจัดการซัพพลายเชนมากว่า 30 ปี