Supply risk analysis เสริมแรง Just-in-time (JIT) กับการบริหารงานซัพพลายเชนช่วงวิกฤต

Supply Chain Guru Logo 1
aerial-view-container-cargo-ship-sea-min

Just-in-time (เรียกสั้นๆว่า JIT หรือระบบทันเวลาพอดี) เป็นระบบการส่งมอบ วัตถุดิบ สินค้า หรือบริการ มาถึงผู้ใช้ในเวลาที่ต้องการ และจำนวนที่ต้องการใช้ ยกตัวอย่างเช่น ส่งชิ้นส่วนการผลิตให้ทันกับความต้องการของสายการผลิตแต่ละสายพอดีเพื่อที่จะลดปริมาณการเก็บสินค้าคงคลังให้น้อยที่สุด สิ่งที่ได้ตามมาคือการลด waste (สิ่งที่ไม่เกิดมูลค่า) ที่เกิดขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอีกด้วย

เงื่อนไขหลักในการใช้ JIT คือการใช้ pull strategy นั่นคือบริษัทจะไม่ผลิตสินค้าจนกว่าจะมีลูกค้ามาซื้อซึ่งจะช่วยลดความต้องการเก็บสินค้าคงคลังและค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าคงคลังและวัตถุดิบต่างๆ แต่อย่างไรบริษัทก็ต้องมีการสั่งซื้อล่วงหน้ากับซัพพลายเออร์ไว้ก่อน (push strategy) เพื่อพร้อมที่เรียกวัตถุดิบหรือสินค้าเข้าตามกำหนดการที่ต้องการ

ข้อดีของการใช้ JIT

  1. ลดสินค้าคงคลังที่ไม่มีการเคลื่อนไหว (Deadstock): เพราะการทำ JIT นั้น จะทำให้บริษัทเก็บสินค้าคงคลังไว้ให้น้อยที่สุด จึงส่งผลให้บริษัทไม่นำเงินไปจมอยู่กับสินค้าคงคลัง
  2. ลดค่าใช้จ่ายในการจัดการสินค้าคงคลัง: การเก็บสินค้าคงคลังไว้เยอะ นั่นหมายถึง ค่าใช้จ่ายในการดูแล ค่าประกันสินค้า ยิ่งหากบริษัทไหนไม่ได้มีคลังสินค้าเป็นของตัวเอง ค่าใช้จ่ายในการจัดการสินค้าคงคลังก็ยิ่งเพิ่มขึ้น การทำ JIT นั้นทำให้บริษัทประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปได้เยอะ
  3. ทำให้กระแสเงินสดดีขึ้น: การทำ JIT นั้นทำให้บริษัทไม่ต้องลงทุนกับการซื้อวัตถุดิบมาเก็บค้างไว้ในคลังสินค้า ทำให้บริษัทมีกระแสเงินสดนำมาหมุนธุรกิจได้มากขึ้น

ถึงเวลากลับมาทบทวนการใช้ Just-in-time (JIT)

ถึงแม้ว่าการทำ JIT จะมีข้อดีในการลดต้นทุนการจัดเก็บสินค้าคงคลังและลดสินค้าคงคลังที่ไม่มีการเคลื่อนไหว อย่างไรก็ตาม การทำ JIT ให้มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องพึ่งพาซัพพลายเออร์เป็นอย่างมากเพราะถ้าหากซัพพลายเออร์ไม่สามารถส่งชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่งให้ทันกระบวนการผลิต สินค้าประเภทนั้นอาจะไม่สามารถผลิตต่อได้ สุดท้ายคือบริษัทจะเสียโอกาสในการขาย ผลที่ตามมาคือลูกค้าอาจะไปซื้อสินค้าจากบริษัทคู่แข่งแล้วก็เป็นได้ การทำ JIT ทำให้บริษัทมุ่งเน้นแต่การลดต้นทุนจนลืมมองไปว่า การ supply วัตถุดิบตัวหลัก (key raw material) เป็นตัวแปรหลักที่สำคัญในกระบวนการผลิต สะท้อนกลับมากับสถานการณ์ปัจจุบันที่ทั้งโลกเจอผลกระทบจากการอุบัติขึ้นของโรคระบาดโควิด-19 ที่ทำให้ซัพพลายเชนทั่วโลกหยุดชะงักลง ทำให้หลายๆบริษัทได้กลับมานั่งทบทวนแล้วว่า Just-in-time อาจจะไม่ใช่กลยุทธที่ตอบโจทย์นักในช่วงวิกฤตการณ์ นอกจากนี้ หากบริษัทไม่มีการทำแผนสำรองไว้ บริษัทอาจเกิดความเสี่ยงที่จะหาวัตถุดิบนั้นไม่ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ เหตุการณ์ที่ซัพพลายเชนจะเอามาเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งคือเหตุการณ์เรือคอนเทนเนอร์ Ever Given ขวางคลองสุเอซที่สร้างความเสียหายต่อการค้าโลก คิดเป็นชั่วโมงละกว่า 400 ล้านดอลลาร์ การขนส่งสินค้าและวัตถุดิบต่างๆจากเอเซียไปยังทวีปยุโรปหยุดชะงักลงไปกว่า 2 สัปดาห์ นั่นหมายความว่า หากบริษัทในประเทศปลายทางรอของที่เดินทางมากับเรือ Ever Given จะทำให้กระบวนการผลิตทั้งกระบวนการพังไปเลย ถึงแม้ว่าจะรอแค่ชิ้นส่วนเพียงชิ้นส่วนเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้นบริษัทอาจจะต้องหามาตรการในการรองรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำ JIT เช่น อาจจะเปลี่ยนจากการทำ global sourcing มาทำ local sourcing มากขึ้น เป็นต้น

บทบาทของ Supply risk analysis กับการทำ JIT

บทเรียนที่ได้จากโควิด-19 และเหตุการณ์เรือคอนเทนเนอร์ Ever Given ขวางคลองสุเอซ ในครั้งนี้ทำให้หลายบริษัททั่วโลกตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการจัดการบริหารซัพพลายเชนมากขึ้น คำแนะนำจากซัพพลายเชน กูรู คือบริษัทควรหันมาให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้าน supply risk analysis (อ่านความรู้เพิ่มเติมเรื่อง Supply risk ได้ที่นี่) ในกรณีนี้บริษัทควรทบทวนวิเคาราะห์ความเสี่ยงในด้านกำหนดการ หรือที่เรียกว่า schedule risk ซึ่งเริ่มจากการขึ้นทะเบียนความเสี่ยง (risk register) ว่าการส่งมอบของวัตถุดิบหรือสินค้านั้นมีโอกาสที่ซัพพลายเออร์จะส่งมอบล่าช้าหรือไม่? และอะไรคือสาหตุหรือเหตุผลที่จะโอกาสนั้นจะเกิดขึ้น? และถ้าเมื่อเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นแล้วจะมีผลกระทบอย่างไรกับบริษัท?

ในกรณีที่กล่าวมาข้างต้น เหตุการณ์เรือคอนเทนเนอร์ Ever Given ขวางคลองสุเอซนั้นส่งผลให้การส่งมอบยหยุดชะงัก (supply disruption) ล่าช้าไป 2 อาทิตย์ และในความเป็นจริงมีบางอุตสาหกรรมต้องสะดุดไปเป็นเดือน ถ้าท่านทำ supply risk analysis และได้กำหนดขึ้นทะเบียนความเสี่ยงด้าน schedule risk นี้ไว้ล่วงหน้า ท่านก็คงมีแผนรองรับเพื่อบรรเทาผลกระทบ (risk mitigation plan) ที่จะเกิดไว้ล่วงหน้า ผลกระทบที่หนักก็จะกลายเป็นเบา

“ซัพพลายเชน กูรู..รอบรู้เรื่องการบริหารจัดซื้อและซัพพลายเชน”

 

ภาพ: unsplash.com

 

อ้างอิง: https://www.supplychain247.com/paper/just_in_time_vs_just_in_case_whats_the_way_forward_for_supply_chains/gep

https://www.arabnews.com/node/1832536/business-economy

https://www.reutersevents.com/supplychain/supply-chain/end-just-time

แชร์บทความนี้

Facebook
LinkedIn

ให้เราเป็นผู้ดูแลคุณ

ด้วยประสบการณ์ด้านการจัดซื้อและการจัดการซัพพลายเชนมากว่า 30 ปี