QCAR หรือที่เราชอบเรียกกันติดปากว่า “คิวคาร์” คือตัวย่อของปัจจัยหลัก 4 ด้านที่บริษัทควรใช้เป็นแนวทางในการประเมินซัพพลายเออร์ ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพการจัดการซัพพลายเชน ได้อธิบายไว้ว่า ในการประเมินซัพพลายเออร์ยังไงก็หนีไม้พ้น 4 ด้านนี้อย่างแน่นอน ใบบทความนี้ อาจารย์หนุ่มซัพพลายเชน กูรู จะมาอธิบายให้เข้าใจแบบง่ายๆถึงเรื่อง 4 ปัจจัยหลักในการประเมินซัพพลายเออร์
-
Quality (คุณภาพ)
คุณภาพ คือ การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพเป็นไปตามข้อกำหนดที่ต้องการ โดยสินค้าหรือบริการนั้นสร้างความพอใจให้กับลูกค้า ในการประเมินซัพพลายเออร์ในด้านคุณภาพนั้น คุณต้องคำนึงถึงตัวสินค้าด้วยว่าเป็นสินค้าประเภทไหน เป็นสินค้าที่มีขายทั่วไป หรือ เป็นสินค้าที่ต้องสั่งทำ
- สินค้าที่มีขายทั่วไปที่เราเรียกว่า standard product นั่นหมายถึง ข้อกำหนดต่างๆในตัวสินค้าเป็นไปตามมาตรฐาน คุณอาจจะประเมินสินค้าว่า สินค้าของซัพพลายเออร์เป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่ Reliability เป็นอย่างไรบ้าง ระยะเวลาและอายุในการใช้เป็นอย่างไร ระยะเวลาในการบำรุงรักษา เป็นต้น
- สินค้าที่ต้องสั่งทำตามความต้องการที่เรียกว่า non-standard product สินค้าประเภทนี้จะมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว อาจจะเป็นสินค้าที่มีการดัดแปลงฟังก์ชั่นบางอย่างเพื่อใช้ในการทำงาน เช่น เครื่องจักรที่เป็นแบบ custom-designed เป็นต้น เนื่องจากสินค้าประเภทนี้ไม่เหมือนสินค้ามาตรฐานที่มีตัวเทียบมากมาย ในการประเมินซัพพลายเออร์ที่ขายสินค้าประเภทนี้จะต้องดูว่า ซัพพลายเออร์มการลงทุนในการทำวิจัยและพัฒนาหรือไม่ มีการจดสิทธิบัตร (Intellectual property) หรือเปล่า มีศักยภาพในการผลิตไหม มีการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อมาปรับปรุงสินค้าหรือเปล่า และมีสถานะทางการเงินที่มั่นคงหรือไม่ เป็นต้น
-
Cost (ต้นทุน)
แน่นอนว่าในการประเมินซัพพลายเออร์ ต้นทุนเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม ในการประเมินซัพพลายเออร์เบื้องต้นนั้น คุณควรจะทราบข้อมูลต่างๆเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ราคา ส่วนลด กำหนดการจ่ายเงิน ข้อกำหนดการจ่ายเงิน สกุลเงินที่ใช้ นอกจากนี้ คุณควรรู้ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่คุณจะต้องจ่ายตลอดการใช้งานของสินค้าด้วย (life-cycle cost) ช่น ค่าการติดตั้ง ค่าแรงงาน ค่าบำรุงรักษา ค่าการบริการหลังการขาย ค่าการอัพเกรดสินค้าหรือบริการ เป็นต้น ในการประเมินซัพพลายเออร์ เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินควรสะท้อนต้นทุนตรงนี้ทั้งหมด
-
Availability (ความพร้อม)
ความพร้อม คือ การที่ซัพพลายเออร์ของคุณสามารถส่งมอบสินค้าตามที่คุณร้องขอได้ในวันที่และสถานที่จัดส่งตามที่กำหนด ในการประเมินความพร้อมของซัพพลายเออร์นั้น คุณสามารถประเมินได้จากหลายมิติ เช่น
- Lead time เวลาส่งมอบของแต่ละประเภท
- ซัพพลายเออร์ส่งมอบของให้บริษัทคู่แข่งของคุณหรือไม่
- ความเชื่อมั่นในการขนส่งสินค้าให้ตรงเวลา (Delivery reliability)
- ซัพพลายเออร์มีระบบในการติดตามออร์เดอร์อย่างไร
- การรู้ถึงระดับการเก็บสต๊อกของสินค้า
-
Responsiveness (การตอบสนอง)
การตอบสนอง คือ การให้บริการที่สามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจ ในปัจจุบัน เรื่องการตอบสนองเป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากบริษัทตอบสนองช้า บริษัทมีความเสี่ยงสูงที่จะสูญเสียลูกค้าไปเลยก็ว่าได้ เพราะฉะนั้น ในการประเมินซัพพลายเออร์ด้านการตอบสนอง คุณอาจจะต้องพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้
- ซัพพลายเออร์มีการพูดถึงเรื่องการตอบสนองใน mission statement ขององค์กรหรือไม่
- ซัพพลายเออร์มีนโยบายและขั้นตอนที่ชัดเจนเกี่ยวกับการจัดการ customer service อย่างไรบ้าง
- ซัพพลายเออร์มีทีมซัพพอร์ตที่มีผู้เชี่ยวชาญและความรู้ในการซัพพอร์ตลูกค้ามากน้อยขนาดไหน?
- ซัพพลายเออร์มี Service Level Agreement (SLA) หรือไม่? หากมี ได้มีการเปรียบเทียบผลงานของตนเองกับ SLA หรือเปล่า?
จาก 4 ปัจจัยหลักในการประเมินซัพพลายเออร์นี้ ทางซัพพลายเชน กูรู หวังว่าคุณจะมีแนวทางในการประเมินซัพพลายเออร์ได้ชัดเจนมากขึ้น เป็นหลักการมากขึ้น หากคุณอยากเข้าใจวิธีการประเมินซัพพลายเออร์ ตั้งแต่การวิเคราะห์ประเภทและความสำคัญของสินค้า การวิเคราะห์ Supply market การวิเคราะห์ Supply risk การกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินซัพพลายเออร์ วิธีการประเมินซัพพลายเออร์ คุณสามารถลงเรียนคอร์สประกาศนียบัตรวิชาชีพการจัดการซัพพลายเชน ระดับสากล ด้าน Sourcing กับเราได้เลย (หลักสูตรรับรองโดย International Trade Centre (ITC) WTO United Nations) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ คลิก https://supplychainguru.co.th/international-professional-certificate-sourcing/