หลายคนยังติดภาพว่า การพัฒนาความยั่งยืนให้กับธุรกิจเป็นเรื่องไกลตัว คือจะมุ่งเน้นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on investment) มากและในระยะเวลาอันสั้น หากเพียงคุณเปลี่ยนมุมมองว่า การพัฒนาความยั่งยืนนั้นให้กับธุรกิจนั้นจะส่งผลดีต่อธุรกิจในระยะยาว ทำให้ธุรกิจเติบโตไปได้อย่างยั่งยืนโดยที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ในบทความนี้จะเสนอถึงเรื่อง การจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน (Sustainable procurement) จะทำให้ภาคธุรกิจจะทำให้เกิด Supply Chain resilience หรือความสามารถในการฟื้นตัวให้กลับสู่ภาวะปกติได้อย่างไร
-
Supply Chain resilience คืออะไร?
Supply Chain Resilience คือความสามารถของทุกกลุ่มบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ในซัพพลายเชน (ห่วงโซ่อุปทาน) ในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิดให้ฟื้นตัวกลับมาสู่ภาวะปกติให้ได้อย่างรวดเร็ว ในความหมายแบบนี้แปลได้ว่า supply chain resilience จะเกิดขึ้นไม่ได้หากมีกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งไม่เตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด
-
การจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน (Sustainable procurement) คืออะไร?
กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่พิจารณาด้านราคา การส่งมอบ และมีคุณสมบัติที่ครอบคลุมประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจที่ช่วยลดผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นการรับผิดชอบต่อผู้เกี่ยวข้องในซัพพลายเชน
- ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) การปกป้องและใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า เช่น การสนับสนุนคู่ค้าที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
- ด้านสังคม (Social) การจัดซื้อจัดจ้างที่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก เช่น การต่อต้านการใช้แรงงานที่ผิดกฎหมาย เช่น แรงงานทาส แรงงานเด็ก
- ด้านเศรษฐกิจ (Economics) การรักษาเสถียรภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน รวมไปถึงการมีบรรษัทภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชั่น เช่น การต่อต้านการติดสินบนและการต่อต้านคอร์รัปชั่นทุกกรณี
-
การจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนสามารถช่วยให้สร้าง Supply Chain Resilience ได้อย่างไร
ในการทำการจัดซื้อจัดจ้างแบบยั่งยืน (Sustainable procurement) คือการเข้าไปทำงานกับซัพพลายเออร์อย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะมั่นใจว่าการดำเนินงานของซัพพลายเออร์ถูกต้องตามหลักการความยั่งยืน จุดประสงค์หลักคือการเข้าไปช่วยปรับปรุงพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น ซัพพลายเออร์และพนักงานได้รับการอบรมอย่างเพียงพอ พนักงานได้รับเงินค่าตอบแทนอย่างเหมาะสม เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทที่สนับสนุนความยั่งยืนยังมีโอกาสในการแบ่งปันความรู้และให้ทุนลงทุนเพื่อที่จะผลักดันให้เกิดผลกระทบอันยิ่งใหญ่ เช่น ผลักดันให้เกิดการทำเกษตรกรรมแบบไม่ใช่สารเคมี ระบบวนเกษตร (Argoforestry) ระบบการจัดการน้ำแบบยั่งยืน เป็นต้น
ยกตัวอย่าง กลุ่มบริษัท Estee Lauder ที่เป็นเจ้าของแบรนด์เครื่องสำอางชั้นนำของโลก อุตสาหกรรมเครื่องสำอางนี้ได้รับความนิยมและเติบโตขึ้นทุกวันโดยเฉพาะเครื่องสำอางที่ทำมาจากผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติ วัตถุดิบที่ใช้ส่วนใหญ่มาจากพืช ผลไม้ ผลิตภัณฑ์น้ำมันที่ได้จากสัตว์ ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบทางธรรมชาติมากมาย
Estee Lauder ได้สร้างโครงการความยั่งยืนสำหรับซัพพลายเชนของน้ำมันปาล์มขึ้น เนื่องจากการทำการเกษตรของต้นปาล์มในนั้นจะอยู่พื้นที่ป่าฝนเขตร้อนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนพื้นเมือง และสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์หลายชนิด เช่น ลิงอุรังอุตัง การปลูกต้นปาล์มจะต้องถางป่าฝนเขตร้อนให้กลายเป็นสวนปาล์ม โครงการนี้มีชื่อว่า Project Lampung เกิดจากความร่วมมือกันระหว่าง Estee Lauder, Roundtable on Sustainable Palm Oil (RPSO), BASF, Business Watch Indonesia (BWI) และ Indonesian Agency for Agricultural Extension (KTNA) เพื่อที่จะได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับเกษตรกรในพื้นที่ Lampung ประเทศอินโดนิเซีย โดยการให้การอบรมเรื่องการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนการทำการเกษตรแบบยั่งยืน เช่น การป้องกันดินเสื่อมสภาพ การเพิ่มผลผลิต การประหยัดการใช้ทรัพยากรน้ำและผลิตภัณฑ์เคมี โครงการนี้ได้เริ่มมาแล้วตั้งแต่กลางปี 2562 และดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน ทาง Estee Lauder คาดว่าประมาณ 1,000 เกษตรกรรายย่อยจะเข้าร่วมโครงการภายในปี 2564 นี้
จากการทำโครงนี้จะเห็นได้ว่า นอกจากจะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบริษัทและซัพพลายเออร์แล้ว ยังช่วยพัฒนาให้ศักยภาพของการทำ Supply Chain Resilience และการพัฒนาทางด้านความยั่งยืนได้ดีขึ้นอีกด้วย
สรุป
หากตัดเรื่องการพัฒนาด้านความยั่งยืนออกไปแล้ว การทำ Supply Chain Resilience จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยหาก network ในซัพพลายเชนของเราไม่ก้าวไปในทิศทางเดียวกัน และการพัฒนาด้านความยั่งยืนต่อไปในอนาคตจะไม่ใช่ “ทางเลือก” แต่ว่าเป็นสิ่งที่ควรบรรจุอยู่ใน “มาตราฐานขององค์กร” ที่ทุกหน่วยงานควรร่วมมือกันทำ เพราะฉะนั้นการทำการจัดซื้อจัดจ้างแบบยั่งยืนจะเป็นคำตอบหนึ่งในงานซัพพลายเชนที่จะช่วยให้บริษัทสามารถตอบสนองกับการเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดต่างๆได้อย่างฉับไว และในขณะเดียวกันก็สามารถเติบโตไปได้ด้วยกันกับซัพพลายเออร์อีกด้วย
“ซัพพลายเชน กูรู..รอบรู้เรื่องการบริหารจัดซื้อและซัพพลายเชน”
อ้างอิง: https://eco-act.com/sustainable-development-goals/supply-chain-resilience-via-the-sdgs/