4 ความผิดพลาดที่พบบ่อยในการจัดการสินค้าคงคลัง

Supply Chain Guru Logo 1
industrial-worker-checking-goods-inventory-large-warehouse-storage-center-writing-report-distribution-results-min

ในบรรดางานในซัพพลายเชนทั้งหลาย ผู้คนส่วนใหญ่คิดว่าการจัดการสินค้าคงคลังเป็นเรื่องที่ท้าทายที่สุด คนที่ทำงานในสายงานนี้อย่างน้อยต้องเคยเจอปัญหา สต๊อกมีไม่พอ ของจัดเก็บไม่ถูกที่ สต๊อกดิฟ และต่างๆอีกมากมาย วันนี้ซัพพลายเชน กูรู ขอรวบรวม 4 ความผิดพลาดที่พบบ่อย (common mistakes) ในการจัดการสินค้าคงคลัง

  1. พนักงานยังขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการสินค้าคงคลัง:

    หลายครั้งที่บริษัทมักมองข้ามว่า การจัดการสินค้าคงคลัง สามารถใช้ใครมาทำงานก็ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว พนักงานหน้างานควรมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการสินค้าคงคลัง เข้าใจว่าหากสินค้าขาดหรือเกิน จะมีผลกระทบอย่างไร ไม่ได้มองแค่หน้างานของตัวเองเท่านั้น เพราะฉะนั้น บริษัทควรหาคนที่เหมาะสมกับงาน มีความรู้ความเข้าใจ และควรมีการให้ความรู้โดยการอบรม on-the-job training ไปพร้อมๆกัน นอกจากนี้เอง บริษัทควรหาผู้จัดการด้านการจัดการสต๊อกที่จะมีอำนาจในการตัดสินใจและรับผิดชอบการทำงานทั้งหมดเพื่อที่จะควบคุมและดูแลงานในส่วนนี้

  2. การคาดการณ์ที่ผิดพลาด:

    จากงานวิจัย State of Small Business Report ในปี 2558 ชี้ให้เห็นว่า 56% ของธุรกิจขนาดเล็กมีความต้องการในการปรับปรุงการบริการให้กับลูกค้า หนึ่งในวิธีที่จะปรับปรุงการให้บริการกับลูกค้าที่ดีขึ้นได้คือการจัดส่งสินค้าได้ตามที่ลูกค้าต้องการ มองย้อนกลับมา หากบริษัทของคุณมีการคาดการณ์ที่ดี คุณจะสามารถตอบโจทย์ตรงนี้ได้ แต่ในทางกลับกัน หากคุณคาดการณ์ผิด คุณจะไม่สามารถหาของให้ลูกค้าทันและสุดท้าย ภาระจะตกอยู่ที่ลูกค้าว่าไม่ได้รับสินค้าตามที่สั่ง ในครั้งถัดไป คุณอาจจะเสียลูกค้าคนนี้ไปเลยก็เป็นได้

    inventory in warehouse

  3. ไม่ใช้ระบบในการควบคุมงาน:

    หากบริษัทใดที่ยังใช้ Excel ในการควบคุมระบบอยู่ หรือ บางบริษัทที่มีระบบแล้ว แต่ยังใช้ Excel ควบคุมการจัดการสินค้าคงคลังไปด้วยอีก บริษัทนั้นมีความน่าจะเป็นที่สูงมากในการทำให้เกิด human error เช่น การคีย์ชื่อ SKU ผิด, จำนวนผิด เป็นต้น จากงานวิจัยอ้างอิงจาก entrepreneur.com ได้ระบุว่า ในทุกๆ 300 ตัวอักษรที่ใช้มนุษย์ในการคีย์ จะต้องมีการผิดพลาดจากการคีย์อย่างต่ำ 1 ตัว ลองนึกภาพตามดูว่าถ้าคุณมีสินค้าคงคลังเป็นพันๆ SKU การควบคุมแบบแมนนวล (manual) จะทำให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นขนาดไหน

  4. ไม่มีการนับสต๊อกอย่างสม่ำเสมอ:

    เพราะหลายคนติดภาพที่ว่า การนับสต๊อกจะเกิดขึ้นต่อเมื่อต้องหยุดการทำงานทุกอย่างในคลังสินค้าก่อน ถึงเริ่มการนับสต๊อกได้ การหยุดกิจกรรมทุกอย่างนั้นจะต้องรอวันหยุดถึงจะทำได้ และจะทำแค่ปีละ 1-2 ครั้งเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว การนับสต๊อกควรมีการนับอยู่อย่างสม่ำเสมอ บริษัทควรมีการทำนโยบายการนับสต๊อกไว้เพื่อระบุหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้รับผิดชอบ ผู้มีอำนาจอนุมัติ ความถี่ในการนับสต๊อก เมื่อเจอสต๊อกดิฟ ขั้นตอนในการปรับสต๊อกทำอย่างไร

อ้างอิง: https://www.entrepreneur.com/article/252704

แชร์บทความนี้

Facebook
LinkedIn

ให้เราเป็นผู้ดูแลคุณ

ด้วยประสบการณ์ด้านการจัดซื้อและการจัดการซัพพลายเชนมากว่า 30 ปี