“ซัพพลายเชน” สายงานที่มาแรงปี 2564

Supply Chain Guru Logo 1

จากผลสำรวจ Jobs on the Rise ของ LinkedIn ซึ่งสำรวจสายงานที่กำลังเป็นที่ต้องการในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย และแน่นอนว่างานซัพพลายเชน เป็น 1 ใน 10 งานที่มาแรงในปีนี้ 2564 วันนี้ ซัพพลายเชน กูรู จะมาอธิบายให้ฟังถึงงานซัพพลายเชนว่าคืออะไร งานแต่ละประเภทเป็นอย่างไร แล้วทำไมงานสายงานนี้ถึงเป็นงานที่มาแรงสุดๆ

Supply Chain คืออะไร?

ซัพพลายเชน (Supply Chain) หรือ ห่วงโซ่อุปทาน คือ กระบวนการตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบ นำวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีต่างๆเพื่อแปรรูปวัตถุดิบให้เป็นสินค้าที่ต้องการ จนถึงขั้นตอนการนำส่งสินค้าถึงลูกค้า โดยที่ในแต่ละกระบวนการทำงานหลักตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบ การผลิต การจัดเก็บสินค้า การกระจายสินค้า การขนส่งสินค้าจะเป็นกระบวนการทำงานที่ต่อเนื่องกันทั้งหมด หากมีกระบวนการไหนเกิดความผิดพลาดขึ้นมาก็จะส่งกระทบต่อทั้งซัพพลายเชนเลย ยกตัวอย่างเช่น หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างซื้อวัตถุดิบมาไม่เพียงพอกับการผลิต ผลกระทบคือบริษัทผลิตสินค้าได้ล่าช้ากว่ากำหนด ทำให้ลูกค้าได้รับผลกระทบไปด้วย เกิดความไม่พอใจ บริษัทเกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีและเสียโอกาสในการทำธุรกิจ เพราะฉะนั้นหากบริษัทมีการจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management) ที่ดี บริษัทจะสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ได้

supply chain management-min

งานในสายซัพพลายเชน (Supply Chain) เป็นอย่างไร?

จากกระบวนการที่อธิบายเรื่องซัพพลายเชนมาข้างต้น เราสามารถแบ่งงานในสายซัพพลายเชนออกเป็น 3 ประเภทหลักด้วยกัน ได้แก่ การจัดการต้นน้ำ (Upstream Management) การจัดการการปฏิบัติงาน (Operation Management) การจัดการปลายน้ำ (Downstream Management)

  1. การจัดการต้นน้ำ (Upstream Management)

    งานซัพพลายเชนในส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อเตรียมเข้าสู่ขั้นตอนการผลิต เราจะเรียกงานในส่วนนี้ว่า “การจัดซื้อจัดจ้าง” หรือ “Procurement” ในเนื้องานของการจัดซื้อจัดจ้างนั้นประกอบไปด้วย การทำกลยุทธ์การจัดซื้อจัดจ้าง การจัดหาและประเมินซัพพลายเออร์เพื่อการจัดซื้อวัตถุดิบต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน นอกจากนี้แล้ว หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างยังเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยบริษัทลดต้นทุนในการจัดซื้อวัตถุดิบ สินค้าและบริการอีกด้วยหากหน่วยงานมีการวางกลยุทธ์ในการจัดซื้อที่ดีและข้อมูลรายจ่ายมาวิเคราะห์หรือที่เรียกว่าการทำ Spend analysis

    spend analysis and procurement

  2. การจัดการการปฏิบัติงาน (Operation Management)

    ส่วนงานซัพพลายนี้จะเป็นกระบวนการทำงานที่รับช่วงต่อจากการจัดซื้อวัตถุดิบ นั่นคือ ขั้นตอนการผลิตหรือการแปรรูปจากวัตถุดิบที่จัดซื้อเข้ามาสู่สินค้าตามมาตรฐานและขั้นตอนที่กำหนดไว้ ไปจนถึงขั้นตอนการจัดเก็บสต็อกสินค้าในคลังสินค้าเพื่อรอในการกระจายสินค้าออกไปยังสถานที่จัดจำหน่ายหรือลูกค้า ในงานส่วนการปฏิบัติการนี้ เราสามารถแบ่งงานย่อยได้ตามนี้

    1.  Planning – ส่วนงานวางแผน ทั้งวางแผนการผลิตและวางแผนวัตถุดิบ
    2.  Manufacturing – ส่วนงานการผลิต
    3.  Inventory Management – การจัดการสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่มีของค้างสต๊อกมากเกินจนไป เพราะสินค้าคงคลังแต่ละชั้นหมายถึงเงินที่ลงทุนไปแล้วยังไม่ได้ขายออก
    4.  Warehouse Management – การจัดการคลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการทำโซนนิ่ง (Zoning) การจัดสรรพื้นที่ในคลังสินค้า การจัดการคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพwarehouse management with team
  3. การจัดการปลายน้ำ (Downstream Management)

    งานซัพพลายเชนส่วนนี้ จะเป็นกระบวนการทำงานในขั้นสุดท้ายของซัพพลายเชน นั่นคือ การกระจาย (Distribution) และขนส่งสินค้า (Transportation) ไปยังลูกค้าปลายทาง กิจกรรมทั้งหมดนี้ เรียกว่า โลจิสติกส์ (Outbound Logistics) เป็นระบบการจัดการการส่งสินค้า ข้อมูล และทรัพยากรอย่างอื่นจากจุดต้นทางไปยังจุดบริโภคตามความต้องการของลูกค้าในการขนส่งนั้น มีขนส่งแบบจากโรงงานไปถึงมือลูกค้าเลยหรือที่เรียกว่า “Last-Mile delivery” และแบบที่ขนส่งไปยังศูนย์กระจายสินค้าก่อน จากนั้นค่อยกระจายสินค้าออกไปยังลูกค้า

    transportation and logistics

ทำไมสายงานซัพพลายเชนถึงมาแรงแบบสุดๆ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในการขายสินค้าและบริการ ความพึงพอใจของลูกค้าไม่ว่าจะเป็นด้านคุณภาพ ความตรงต่อเวลา การบริการหลังการขาย เป็นจุดประสงค์หลักที่บริษัทส่วนใหญ่ต่างให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ บริษัทจะต้องมีการจัดการซัพพลายเชนที่ดี ตั้งแต่การจัดการต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ เพื่อทำให้ลูกค้าได้รับสินค้าและบริการอย่างดีเยี่ยมเป็นเรื่องที่ทุกบริษัทต้องทำ

นอกจากนี้ในเอง การค้าขายส่วนใหญ่ในยุคนี้คือการขายของออนไลน์เมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้าแล้ว ขั้นต่อไปต้องขนส่งสินค้าถึงมือลูกค้า ทำให้สายงานที่เกี่ยวข้องกับซัพพลายเชนและการขนส่งจึงเป็นที่ต้องการอย่างมาก

สรุป

จากข้อมูลสายงานซัพพลายเชนที่กล่าวมาทั้งหมด แสดงให้เห็นว่า ยังไงสายงานซัพพลายเชนก็ยังเป็นสายงานที่มีความต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คนต่างสนใจที่จะเข้ามาทำงานสายนี้ ในปีนี้ทางซัพพลายเชน กูรู ได้เปิดคอร์ส “ประกาศนียบัตรวิชาชีพการจัดการซัพพลายเชน ระดับสากล (International Professional Certificate in Supply Chain Management)” ให้ลงเรียนเพื่อเป็นการอัพสกิลและต่อยอดในสายงานซัพพลายเชน ทางสถาบันได้เปิด 2 คอร์สด้วยกัน นั่นคือ

  1. Sourcing: คอร์สนี้มีเนื้อหาครอบคลุม Sourcing process ที่เป็นสากล ตั้งแต่
    • การเข้าใจ Specification
    • การประเมินศักยภาพซัพพลายเออร์
    • การประเมินข้อเสนอของซัพพลายเออร์
    • การประกวดราคา
    • การทำสัญญา
    • การเจรจาต่อรองที่มีประสิทธิภาพ
  2. Logistics: หลักสูตร Logistics มีเนื้อหาครอบคลุม
    • การทำกลยุทธ์ทางโลจิสติกส์ (Logistics Strategy)
    • การทำ Forecast Demand
    • การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) ได้แก่ ที่ตั้ง แผนผัง การวางแผนและปฏิบัติการ
    • การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management)
    • หลักการขนส่ง (Transportation)
    • การบรรจุภัณฑ์ (Packaging)
    • การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)

สนใจติดต่อซัพพลายเชน กูรู ได้ที่ LineOA: @supplychainguru https://lin.ee/ASA1ykk

 

“ซัพพลายเชน กูรู..รอบรู้เรื่องการจัดการจัดซื้อและซัพพลายเชน”

แชร์บทความนี้

Facebook
LinkedIn

ให้เราเป็นผู้ดูแลคุณ

ด้วยประสบการณ์ด้านการจัดซื้อและการจัดการซัพพลายเชนมากว่า 30 ปี