คราฟต์ไฮนซ์ (Kraft Heinz) ทลายไซโลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ “ซัพพลายเชน”

Supply Chain Guru Logo 1

Kraft Heinz หรือ“คราฟต์ไฮนซ์”  แบรนด์ขายอาหารสัญชาติอเมริกันเป็นการรวมตัวกันของ Kraft Foods และ Heinz เปิดมากว่า 150 ปีแล้ว คราฟต์ไฮนซ์เป็นแบรนด์อาหารที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกที่มียอดขายกว่า 26 ล้านดอลล่าห์สหรัฐในปี 2563 ที่ผ่านมา เบื้องหลังความสำเร็จนี้ ในมุมมองของซัพพลายเชน เรามาดูกันดีกว่าว่า คราฟต์ไฮนซ์มีเคล็ดลับความสำเร็จในการทลายไซโลในซัพพลายเชนอย่างไร และผลลัพธ์ที่ได้คืออะไรบ้าง

คราฟต์ไฮนซ์ทำอย่างไรในการทลายไซโล

ก่อนหน้านี้ ฝ่ายซัพพลายเชนและฝ่ายการตลาด ทำงานกันแบบไซโล นั่นคือทำงานฝ่ายใครฝ่ายมัน ไม่ได้มีความต่อเนื่องกันเลยทำให้หลายครั้งเกิดปัญหาเรื่องการคาดการณ์และการเปิดตัวสินค้าตัวใหม่ ฝ่ายซัพพลายเชนไม่สามารถเห็นแผนงานโดยรวมของฝ่ายการตลาดได้เลยว่าการตลาดมีแผนงานในการขายสินค้าตัวไหนอย่างไรบ้าง ซึ่งจะทำให้บริษัทไม่สามารถวางแผนซัพพลายเชนทั้งทางด้านการจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต การขนส่งสินค้าไม่เป็นไปตามฝ่ายการตลาด คราฟต์ไฮนซ์จึงจัดตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาชื่อว่า “Ops Center” ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ประสานงานระหว่างฝ่ายซัพพลายเชน ฝ่ายการตลาดและรวมไปถึงฝ่ายวิจัยและพัฒนาด้วย จากการทำงานร่วมกันของ 3 ฝ่ายนี้ทำให้คราฟต์ไฮนซ์ตอบสนองกับตลาดได้ดีขึ้น ลูกค้าได้รับสินค้าตามที่กำหนดไว้

ผลลัพธ์จากการทลายไซโลในซัพพลายเชน

จากการทลายไซโลระหว่างฝ่ายซัพพลายเชน (Supply Chain), ฝ่ายการตลาด (Marketing) และฝ่ายวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ของ คราฟต์ไฮนซ์ที่เริ่มมาได้ประมาณ 2 ปีนั้น มาดูกันดีกว่าว่า คราฟต์ไฮนซ์ได้รับประโยชน์อะไรบ้าง

  • คราฟต์ไฮนซ์สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องบรรจุภัณฑ์ขาดตลาดได้อย่างทันท่วงที

  • คราฟต์ไฮนซ์สามารถจัด Portfolio ของสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น

  • ทั้ง 3 ฝ่ายได้เห็นแผนงานของแต่ละฝ่ายในระยะยาวและมองเห็นแผนงานนั้นเป็นภาพเดียวกัน

  • คราฟต์ไฮนซ์สามารถผลักดันนโยบายขององค์กรได้สำเร็จในเรื่องของการเป็น zero-waste company

Heinz-looks-to-squeeze-out-rivals-with-mayonnaise-launch-min

เคสที่คราฟต์ไฮนซ์ประสบความสำเร็จจากการทลายไซโล

คราฟต์ไฮนซ์เคยประสบปัญหาเรื่องซัพพลายเออร์หลักไม่สามารถส่งบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์มายองเนส (Mayonnaise) ได้เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นช่วงฤดูร้อนของปีที่แล้วที่มีความต้องการ  (Demand) ของมายองเนสสูงที่สุดอีกด้วย (คนนิยมทานสลัดมักกะโรนีและไข่ปีศาจ (Deviled eggs) ซึ่งต้องใช้มายองเนสเป็นวัตถุดิบ) ทางทีม Ops Center จึงประสานงานไปกับทางซัพพลายเออร์สำรองเพื่อให้ได้บรรจุภัณ์ฑ์ทันตามความต้องการ ผลลัพธ์ที่ได้คือทาง คราฟต์ไฮนซ์สามารถจัดส่งมายองเนสได้ตามกำหนดและสามารถโปรโมตตัวบรรจุภัณฑ์ตัวใหม่ได้อย่างไม่มีปัญหา

สรุป

จะเห็นได้ว่าในการขับเคลื่อนบริษัทให้สามารถแก้ไขปัญหาและส่งมอบงานให้ลูกค้าได้ตามกำหนด การทลายไซโลในซัพพลายเชนเป็นกุญแจตัวสำคัญในการผลักดัน ความร่วมมือกันจากฝ่ายต่างๆไม่ว่าจะเป็นฝ่ายการตลาด ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง ฝ่ายซัพพลายเชน รวมไปถึงฝ่ายวิจัยและพัฒนา หากทุกฝ่ายสามารถเห็นแผนงานขององค์กรเป็นภาพเดียวกัน การทำงานเพื่อให้บรรลุแผนงานนั้นก็ไม่ยากเลย ตัวอย่างกรณีศึกษาของคราฟต์ไฮนซ์ทำให้เห็นแล้วว่าเบื้องหลังความสำเร็จขององค์กรคือการทลายไซโลในซัพพลายเชนให้ทุกๆฝ่ายทำงานร่วมกันและขับเคลื่อนองค์กรไปด้วยกัน

“ซัพพลายเชน กูรู..รอบรู้เรื่องการบริหารจัดซื้อและซัพพลายเชน”

อ้างอิง: https://www.supplychaindive.com/news/operations-marketing-kraft-heinz-ops-center-skus/599553/

https://www.kraftheinzcompany.com/

แชร์บทความนี้

Facebook
LinkedIn

ให้เราเป็นผู้ดูแลคุณ

ด้วยประสบการณ์ด้านการจัดซื้อและการจัดการซัพพลายเชนมากว่า 30 ปี